วันพฤหัสบดีที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

ความรักในวัยรุ่น



A8605247-60
            ความรัก เป็นอารมณ์ที่เกี่ยวข้อง กับความเสน่หาและความผูกพันทางอารมณ์
คำว่ารัก อาจหมายความถึง ความรู้สึก สภาพอารมณ์และความพอใจทั่วไปจนถึงความดึงดูดระหว่างบุคคล เป็นความต้องการอย่างเสน่หาและอาจมีความสัมพันธ์ทางเพศมาเกี่ยวข้อง33597 67794


อีกความหมาย ความรัก อาจหมายถึง ความใกล้ชิดทางอารมณ์ของความรักกับบุคคลในครอบครัว หรือรักที่บริสุทธิ์ เช่นความเป็นเพื่อน หรือความรักแบบอุทิศตัวแบบในทางศาสนา
 
สรุปได้ว่า ความรัก มีหลากหลายนิยาม ขึ้นอยู่กับว่า ณ เวลานี้เราอยู่ในสถานการณ์ใด ความรัก ก็อาจจะเปลี่ยนไปตามความรู้สึกนั้นๆ ซึ่งอาจบอกได้ว่า
 
ความรัก มี หลายแบบ คือ
 
1. ความรักที่มีให้ พ่อ แม่ หรือสมาชิกในครอบครัว  เป็นความรักที่วัยรุ่นมักมองข้ามimages 6
ทั้งที่ๆ อยู่ใกล้ตัวและเป็นรักที่บริสุทธิ์ที่สุด
 
2. ความรักที่มีให้เพื่อน เป็นความรักที่มีแบบมิตรภาพ ความห่วงใย ปรารถนาดีimages 10
คอยช่วยเหลือยามที่เพื่อนเดือดร้อน เป็นที่ปรึกษายามทุกข์ใจ
 
3. ความรักที่มีให้คนพิเศษ ก็คือรักแบบคนรัก นั่นเอง...เป็นความรักที่มีทุกรูปแบบ ทั้งความสุข ความเศร้า ความเหงา เสียใจ ดีใจ หึงหวง การแสดงความเป็นเจ้าของ และสุดท้ายความรักมักแสดงออกด้วยการครอบครองและการมีเพศสัมพันธ์
images 3
 
แต่วัยรุ่นเรา..มักจะให้ความสำคัญในความรัก..แบบคู่รัก มากกว่า รักแบบอื่นๆ...ใช่หรือไม่?...
 
แต่มีความรักแบบหนึ่ง..ที่วัยรุ่นกำลังเป็นกันในวัยเรียน...จำหนังเรื่องนี้ได้มั้ย..มันเป็นความรัก..ที่เริ่มจากสิ่งเล็กๆๆ จริงๆๆ
 
 
 
ความรักไม่ใช่หลักประกันว่า เราจะมีความสุขชั่วนิรันดร์ แต่ความรักก็มีส่วนช่วยให้เรามีโอกาสที่จะพยามใช้ศักยภาพที่มีอยู่ เพื่อสร้างสัมพันธภาพที่ดีกับคนที่เรารัก ช่วยให้เรารู้จักใช้ความอดกลั้น รู้จักควบคุมอารมณ์ รวมทั้งมีโอกาสได้พัฒนาทักษะในการสื่อสาร
     คนที่มีวุฒิภาวะจะเรียนรู้การจัดการกับอารมณ์ต่างๆ ของตนเอง มีความเชื่อมั่นและมีความไว้วางใจ ดังนั้น แม้ว่าเราจะมีความคิดฝังใจว่า ความรักนั้นให้ความสุขสำราญใจเสมอ ในขณะเดียวกันก็ขอให้ตระหนักไว้ด้วยว่าบ่อยครั้งที่ความรักนำมาซึ่งความเจ็บปวด และมีแต่การเรียกร้อง เห็นแก่ตัว33608 30632
 ความรัก  มาสโลว์ นักจิตวิทยาได้นิยามไว้ว่า...
       1. คนเราต้องการความรักที่มั่นคง แต่คนที่เปลี่ยนไปรักคนใหม่อยู่เรื่อยๆ เป็นเพราะต้องการรักษาความรู้สึกตื่นเต้นเร้าใจให้คงอยู่
       2. ความรักมักจบลงเพราะความโกรธและความเบื่อหน่าย เนื่องจากเมื่อเกิดความรู้สึกดังกล่าว จะทำให้คนเราลืมคิดถึงใจเขาและเลิกพยายามที่จะยอมรับอีกฝ่ายหนึ่ง
       3. องค์ประกอบของความรักจะต้องมีมิตรภาพ มีการแบ่งปัน ให้ความนับถือต่อกัน การยอมรับกันและมีความยืดหยุ่น
       4. ความรักที่มีคุณภาพต้องให้ความสำคัญกับความคิด และความรู้สึกของอีกฝ่ายหนึ่ง โดยเฉพาะเมื่อไหร่ก็ตามที่จะต้องการมีการตัดสินใจ ควรระมัดระวังอย่างมาก เพราะอาจเกิดผลกระทบต่อสัมพันธภาพระหว่างกันได้
       5. อย่าตัดสินใจแบบเผด็จการ เนื่องจากจะทำให้อีกฝ่ายรู้สึกถูกกดดันและเกิดความรู้สึกขุ่นเคืองคับข้องใจ

ความเป็นส่วนตัวA8605247-37

     การเป็นคู่รักกันมิใช่ว่าจะต้องคิดเหมือนกัน และรู้เรื่องของกันและกันทุกเรื่อง เราย่อมมีเวลา
  เเละความเป็นส่วนตัวของแต่ละคน ที่สำคัญ ต้องให้เกียรติซึ่งกันและกัน 

      ดังนั้น การจะพูดอะไรต้องเคารพและรับผิดชอบต่อความคิดของอีกฝ่ายหนึ่ง เพื่อช่วยให้อีกฝ่ายมีความเป็นตัวของตัวเอง
การที่แต่ละฝ่ายมีเวลาเป็นส่วนตัวบ้างเป็นสิ่งสำคัญมาก ต่างฝ่ายควรมีช่วงเวลาที่จะแบ่งปันให้กับเพื่อนฝูง กิจกรรม หรืองานอดิเรกที่ตนเองสนใจบ้าง แล้วนำเอาเรื่องราวต่างๆ ที่พบเห็นมาเล่าสู่กันฟัง จะช่วยให้ชีวิตมีสีสันขึ้น และมีส่วนร่วมในการคิดร่วมกัน ทำให้เรียนรู้ซึ่งกันและกันมากขึ้น
       โดยธรรมชาติ คนที่เริ่มรักกันใหม่ๆ มักต้องการเวลาอยู่ใกล้ชิดกันตลอดเวลา แต่พอนานไป ความต้องการแบบนี้ก็จะลดน้อยลงไปด้วย
ดังนั้น ถ้าต้องการให้สัมพันธ์รักมั่นคง ทั้งคู่ก็ควรมีเวลาส่วนตัวที่เป็นของตัวเอง การยึดติดหรือพึ่งพาอีกฝ่ายตลอดเวลา จะไม่ช่วยพัฒนาความรักให้ดีขึ้นเลย

 เมื่อความรักยุติลง33601 79522

    ความรักของคู่รักทุกคู่อาจจะไม่สมหวังเสมอไป
หลายคู่จบลงด้วยการหันหลังให้แก่กันแบบทางใครทางมัน
บางคู่ก็รู้สาเหตุของการแยกทางกัน แต่บางคู่ก็ไม่รู้ว่าเลิก เพราะสาเหตุใดกันแน่
แต่ที่แน่นอนก็คือ เมื่อความรักจบสิ้นลง ทุกคนย่อมมีความเจ็บปวด ผิดหวัง เสียใจ จะมากหรือน้อยก็ขึ้นอยู่กับแต่ละเหตุการณ์และแต่ละบุคลิกภาพของบุคคล
ในที่สุด อารมณ์เหล่านี้จะค่อยๆ หมดไป เมื่อวันเวลาผ่านไป หรือเมื่อเราสามารถสร้างสัมพันธภาพที่ดีกับคนใหม่ได้
ซึ่งเป็นกระบวนการปรับตัวของคนเรานั่นเอง...
เราต้องมุ่งมั่นและย้ำกับตนเองเสมอว่า ชีวิตของเราต้องก้าวต่อไปข้างหน้า ไม่ว่าอะไรจะเกิดขึ้นก็ตาม...
(แหล่งที่มา..กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข...ปรับปรุงครั้งสุดท้ายเมื่อวันที่ 2 ตุลาคม 2546)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น